5 ข้อควรระวังเกี่ยวกับ “หู” ที่คุณไม่รู้ไม่ได้!!!
ขึ้นชื่อว่าอวัยวะในร่างกาย ไม่มีส่วนไหนที่ไม่สำคัญหรอกครับจริงมั้ย เพราะทุกส่วนล้วนมีประโยชน์ในตัวเองทั้งสิ้น โดยเฉพาะ “หู” ยิ่งแล้วใหญ่ เพราะเป็นอวัยวะที่ช่วยให้เราสามารถฟังเสียงต่าง ๆ และพูดคุยสื่อสารกับคนอื่นได้อย่างสะดวกสบาย นอกจากนี้หลายคนอาจไม่รู้ว่าหูยังช่วยในเรื่องของการทรงตัวอีกต่างหาก ดังนั้นเพื่อให้หูของเราทำหน้าที่ของมันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เรามาเรียนรู้การดูแลสุขอนามัยหูของเรากันดีกว่าว่าอะไรควรทำ และอะไรไม่ควรทำ!
1. อย่าปั่น แคะ หรือล้างหู ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
หลายคนชอบคิดว่าใช้น้ำยาฆ่าเชื้อกับหูแล้วจะทำให้ขี้หูหมดไป จริง ๆ แล้วไม่ใช่เลยครับ มันมีแต่จะทำให้ขี้หูเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ เพราะการระคายเคืองจะกระตุ้นต่อมสร้างขี้หูให้ทำงาน และดันขี้หูเก่า ๆ ลงไปอัดแน่นกว่าเดิม ทำให้ขี้หูอุดตันและเกิดอาการหูอื้อ แน่นช่องหู หรือรุนแรงหน่อยก็อาจทำให้เยื่อบุแก้วหูฉีกขาดได้เลย
2. อย่าให้น้ำเข้าหูเด็ดขาด
เวลาอาบน้ำหรือเล่นน้ำต้องระวังเป็นพิเศษเลยนะครับ อย่าปล่อยให้น้ำเข้าหูเด็ดขาด เพราะน้ำที่เข้าไปในหูจะทำให้เกิดอาการติดเชื้อในช่องหูได้ หรือถ้าเข้าไปแล้วก็ให้เอียงคอเอาหูที่น้ำเข้าลงพื้น ดึงใบหูเฉียงไปข้างหลัง ก็จะทำให้ช่องหูตรงและน้ำสามารถไหลออกมาได้
3. อย่าสั่งน้ำมูกแรง ๆ
หู ตา คอ จมูก เป็นส่วนที่เชื่อมโยงเข้าหากันได้หมด ดังนั้นเวลาเราเป็นหวัด อย่าได้เผลอสั่งน้ำมูกแรง ๆ เลยนะครับ เพราะมันจะทำให้เชื้อโรคในโพรงจมูกและไซนัสย้อนกลับเข้าสู่หูชั้นกลางได้ ส่งผลให้ติดเชื้อและกลายเป็นเรื่องใหญ่โตตามมานั่นเอง
4. ระวังอย่าให้หูกระทบกระเทือน
หูนั้นเป็นอวัยวะที่บอบบางกว่าที่เราเห็นมากนะครับ โดยเฉพาะข้างในรูหูยิ่งแล้วใหญ่ เพราะฉะนั้นห้ามเล่นอันตรายบริเวณนี้เด็ดขาด เช่น เล่นตบบ้องหู หรือเล่นขณะที่กำลังปั่นหูอยู่ เพราะอาจทำให้เยื่อบุแก้วหูทะลุและฉีกขาดได้ อีกทั้งยังมีอาการมากมายที่เกิดขึ้นได้จากการกระทบกระทั่งทางหู ดังนั้นเพื่อสุขอนามัยที่สมบูรณ์แล้ว ต้องระวังกันเป็นพิเศษเลยแหละครับ
5. อย่าฟังอะไรที่เสียงดังเป็นเวลานาน
การฟังเสียงดังเช่นเปิดเพลงกรอกหู อยู่ในโรงงานที่มีเครื่องจักรเสียงดัง หรือตามสนามแข่งรถ พวกนี้จะทำให้ประสาทหูค่อย ๆ เสื่อมลงทีละน้อย และส่งผลให้หูหนวกในที่สุด ดังนั้นถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็หาที่อุดหูมาใส่เพื่อป้องกันตัวเองด้วยแล้วกันครับ
[ อ่านบทความเพิ่มเติม ]
รู้จักแผ่นรองนั่งอนามัย Germs Away ใช้งานแผ่นรองนั่งชักโครกที่ไหนและเมื่อไหร่ วิธีการใช้งานแผ่นรองนั่งอนามัย สถานที่จัดจำหน่าย ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม