โรคนิ้วล็อค ปัญหาของคนทำงาน
อาการ “นิ้วล็อค” เป็นอาการที่พบได้บ่อยกับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป สามารถพบอาการมากที่สุดเมื่อเริ่มมีอายุประมาณ 50 – 60 ปี กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการนิ้วล็อก ก็คือ กลุ่มแม่บ้าน คนทำสวน กลุ่มช่าง และนักกีฬาบางประเภท ซึ่งลักษณะอาการของโรคนิ้วล็อค ในแต่ละกลุ่มนั้นอาการที่แสดงออกมาจะไม่เหมือนกัน อย่างเช่น กลุ่มแม่บ้านมักจะพบอาการบริเวณนิ้วกลางและนิ้วนาง สามารถพบอาการทั้งมือซ้ายและมือขวาได้ คนทำสวนจะพบอาการบริเวณนิ้วกลางและนิ้วนางของมือขวา เนื่องจากเป็นข้างที่ถนัดและมักจะใช้งานบ่อย ๆ บรรดาครู ผู้พิพากษา นักบริหาร นักบัญชี ส่วนมากจะพบอาการบริเวณนิ้วโป้งขวา เป็นเพราะการจับปากกานานหลายชั่วโมงทำให้เกิดอาการเกร็งบริเวณนิ้วโป้ง จนเกิดการยึดตึงของเอ็นมือและผู้ที่เป็นนักกีฬาบางประเภท อย่างเช่นนักกอล์ฟ มักจะพบอาการบริเวณนิ้วกลางและนิ้วนางของมือซ้าย เนื่องจากการกำไม้กอล์ฟและการกระแทกลูกกอล์ฟขณะตีลูกนั้นเอง
ลักษณะของอาการนิ้วล็อคเป็นอย่างไร
โรคนิ้วล็อค (Trigger Finger Stenosing Tenosynovitis) เกิดจากความผิดปกติในระบบการทำงานของมือ อย่างเช่น ระบบการเคลื่อนไหวของมือไม่สามารถทำได้อย่างปกติ อาการนิ้วล็อคสามารถพบอาการกับนิ้วเดียวหรือหลายนิ้วก็ได้ อาการเริ่มแรกจะมีความเจ็บบริเวณฐานนิ้ว นิ้วไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ดีนัก อาจมีเสียงดังขณะงอนิ้ว หรือขณะเหยียดนิ้วรวมด้วย อาการดังกล่าวมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “นิ้วเหนี่ยวไกปืน” (Trigger Finger) ก็เพราะว่าลักษณะของนิ้วเหมือนกับการเหนี่ยวและการปล่อยไกปืนนั่นเอง หากอาการมีความรุนแรงขึ้น จึงเรียกว่า “อาการล็อค” หากงอหรือกำนิ้วมือไว้ ก็จะไม่สามารถที่จะเหยียดนิ้วมือออกมาได้เป็นปกติ มีอาการเจ็บปวดรวมด้วยเมื่อพยายามเหยียดนิ้วมือให้ตรงเป็นปกติ
อาการ “นิ้วล็อค” เกิดมาจากการหดตัวของเยื่อหุ้ม (Sheath) บริเวณเอ็นกล้ามเนื้อของนิ้ว เอ็นกล้ามเนื้อ (Tendon) ที่ถูกห่อหุ้มด้วยเยื่อหุ้มที่มีชื่อว่า “Tenosynovium” โดยปกติเนื้อเยื่อดังกล่าวจะปล่อยของเหลวหล่อลื่น เพื่อช่วยให้เอ็นกล้ามเนื้อมีการเคลื่อนตัวได้ดีขึ้นภายใต้เยื่อหุ้ม ในขณะที่เรางอหรือยืดนิ้วมือ แต่ถ้าหากเนื้อเยื่อ “Tenosynovium” เกิดอาการอักเสบบ่อยครั้งเป็นเวลานาน ๆ เนื้อที่อยู่ภายใต้เยื่อหุ้มเอ็นกล้ามเนื้อ จะเกิดการหดตัวแคบลง ซึ่งจะทำให้เอ็นกล้ามเนื้อที่เคลื่อนตัวผ่านเยื่อหุ้มทำได้อย่างยากลำบาก จนเป็นผลให้เอ็นกล้ามเนื้อเกิดการยึดติดในขณะที่งอนิ้วและไม่สามารถที่จะยืดตรงได้อย่างปกติ การที่นิ้วล็อคในแต่ละครั้งจะทำให้เอ็นกล้ามเนื้อเกิดความระคายเคืองและเกิดอาการอักเสบ หากยังไม่รีบรักษาก็จะทำให้อาการยิ่งรุนแรงขึ้นจนไม่สามารถที่จะขยับนิ้วมือหรือใช้มือหยิบจับอย่างเป็นปกติได้
[ อ่านบทความเพิ่มเติม ]
รู้จักแผ่นรองนั่งอนามัย Germs Away ใช้งานแผ่นรองนั่งชักโครกที่ไหนและเมื่อไหร่ วิธีการใช้งานแผ่นรองนั่งอนามัย สถานที่จัดจำหน่าย ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม